กติกาฟุตซอล

กติกาฟุตซอลกติกา
ข้อ1 สนามแข่งขัน (THE PITCH)ขนาดสนาม(Dimension) สนามแข่งขันต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวของเส้นข้างต้องยาวกว่าความยาวของเส้นประตูความยาว ต่ำสุด 25 เมตร สูงสุด 42 เมตรความกว้าง ต่ำสุด 15 เมตร สูงสุด 25 เมตรการแข่งขันระหว่างชาติ (International Matches)ความยาว ต่ำสุด 38 เมตร สูงสุด 42 เมตรความกว้าง ต่ำสุด 18 เมตร สูงสุด 22 เมตรการทำเส้นสนามแข่งขัน (Pitch Markings) สนามแข่งขันประกอบด้วยเส้นต่างๆเส้นเหล่านั้นเป็นพื้นที่ของเขตนั้นๆ เส้นด้านยาวสองข้างเรียกว่า เส้นข้าง (Touch Line) เส้นด้านสั้นสองเส้น เรียกว่า เส้นประตู (Goal Line) เส้นทุกเส้นต้องมีความกว้าง 8 เซนติเมตร สนามแข่งขันแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่าๆกัน โดยมีเส้นแบ่งแดน (A Halfway Line) ที่กึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน มีจุดกึ่งกลางสนาม (Center Mark) และวงกลมรัศมี 3 เมตรล้อมรอบจุดนี้ไว้

เขตโทษ (The Penalty Area) เขตโทษทำไว้ตรงส่วนท้ายของสนามแต่ละด้าน ดั้งนี้ ให้วัดจากด่านนอกเสาประตูทั้งสองข้างออกไปตามแนวเส้นประตูข้างละ 6 เมตร เขียนส่วนโค้งซึ้งมีรัศมี 6 เมตร เข้าไปใน พื้นที่สนามแข่งขันจนปลายของส่วนโค้งสัมผัสกับเส้นขนานที่ตั้งฉากกับเส้นประตู ระหว่างเสาประตูทั้งสองข้างมีความยาว 3.16 เมตร พื้นที่ภายในเขตเส้นเหล่านี้และเส้นประตูล้อมรอบ เรียกว่า เขตโทษ

จุดโทษ (Penalty Mark) จากจุดกึ่งกลางประตูแต่ละข้าง ให้วัดเป็นแนวตั้งฉากเข้าไปในสนามแข่งขันเป็นระยะทาง 6 เมตร และให้ทำจุดแสดงไว้ จุดนี้เรียกว่า จุดโทษจุดโทษที่สอง (Second Penalty Mark) จากจุดกึ่งกลางประตูแต่ละข้าง ให้วัดเป็นแนวตั้งฉากเข้าไปในสนามแข่งขันเป็นระยะทาง 10 เมตร และให้ทำจุดแสดงไว้ จุดนี้เรียกว่า จุดโทษที่สอง

เขตมุม (The Corner Area) จากมุมสนามแต่ละด้านให้เขียน 1 ใน 4 ของส่วนโค้งไว้ด้านในสนามแข่งขัน โดยมีรัศมี 25 เซนติเมตร

เขตเปลี่ยนตัว (Substitution Zone) เขตเปลี่ยนตัวอยู่บริเวณเส้นข้างของสนามแข่งขันตรงด้านหน้าของทีมที่จัดที่นั่งผู้เล่นสำรองไว้ เขตเปลี่ยนตัวมีความยาว 5 เมตร จะสังเกตได้จากบนเส้นข้างจะมีเส้นกว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 80 เซนติเมตร (วัดเข้าด้านในสนาม 40 เซนติเมตร และวัดออกจากด้านนอกสนาม 40 เซนติเมตร) ผู้เล่นจะเปลี่ยนเข้าและออกต้องอยู่ภายในเขตเปลี่ยนตัว ระหว่างเขตเปลี่ยนตัวทั้งสองข้างตรงเส้นแบ่งแดนและเส้นข้างจะมีช่องว่างระยะ 5 เมตร ตรงหน้าโต๊ะผู้รักษาเวลา

ประตู (Goals) ประตูต้องตั้งอยู่บนกึ่งกลางของเส้นประตูแต่ละด้านประกอบด้วย เสาประตูสองเสา มีระยะห่างกัน 3 เมตร และเชื่อมต่อกันด้วยคานตามแนวนอน ซึ่งส่วนล่างของคานจะอยู่สูงจากพื้น 2 เมตร เสาประตูและคานประตูทั้งสองด้านจะมีความกว้างและความหนา 8 เซนติเมตร อาจติดตาข่ายไว้ที่ประตูและคานประตูด้านหลัง ตาข่ายประตูต้องทำด้วยป่าน ปอ หรือ ไนล่อน จึงอนุญาตให้ใช้ได้ เส้นประตูมีความกว้างเท่ากับเสาประตูและคานประตู ที่เสาและคานด้านหลังประตูมีลักษณะเป็นรูปโค้ง วัดจากริมด้านบนของเสาประตู ไปสู่ด้านนอกของสนามมีความลึกไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร วัดจากริมด้านล่างของเสาประตูไปด้านนอกของสนามมีความลึกไม่น้อยกว่า 100 เซนติเมตร

ความปลอดภัย (Safety) ประตูอาจเป็นแบบที่แยกประกอบและโยกย้ายได้ แต่จะต้องติดตั้งไว้กับพื้นสนามอย่างมั่นคงและปลอดภัย

พื้นผิวของสนามแข่งขัน (Surface of the Pitch) พื้นผิวสนามจะต้องเรียบ อาจทำด้วยไม้หรือวัสดุสังเคราะห์และต้องหลีกเลี่ยงพื้นผิวสนามที่ทำด้วยคอนกรีต หรือยางมะตอยข้อตกลง (Decisions)

1. ในกรณีเส้นประตูยาวระหว่าง 15 – 16 เมตร รัศมีที่ใช้เขียนส่วนโค้งเขตโทษยาว 4 เมตร ในกรณีนี้จุดโทษจะไม่อยู่บนเส้นเขตโทษ แต่ยังคงเป็นระยะ 6 เมตร โดยวัดจากกึ่งกลางเสาประตูและมีระยะห่างเท่ากันทั้งสองข้าง2. การใช้สนามพื้นหญ้าตามธรรมชาติ สนามหญ้าเทียม หรือพื้นดิน อนุญาตให้ใช้ในการแข่งขันระดันลีก แต่ไม่อนุญาตให้ใช้ในการแข่งขันระหว่างชาติ3. เครื่องหมายจะถูกเขียนไว้ด้านนอกของสนามแข่งขันวัดออกมา 5 เมตร เป็นมุมฉากกับเสาประตูเพื่อทำให้แน่ใจว่าผู้เล่นอยู่ห่างจากจุดเตะจากมุม 5 เมตร ความกว้างของเครื่องหมาย 8 เซนติเมตร4. ทั้งสองทีมอยู่ด้านหลังเส้นข้าง ถัดจากช่องว่างด้านหน้าโต๊ะเจ้าหน้าที่

กติกาข้อ2 ลูกบอล (The Ball)คุณลักษณะและหน่วยการวัด (Qualities and Measurements) ลูกบอลต้อง1. เป็นทรงกลม2. ทำด้วยหนัง หรือวัสดุอื่นๆที่เหมาะสม3. เส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 62 เซนติเมตร และไม่เกินกว่า 64 เซนติเมตร4. ขณะเริ่มการแข่งขันลูกบอลต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 400 กรัม และไม่มากกว่า 440 กรัม5. ความดันลมของลูกบอล 0.4 – 0.6 ระดับบรรยากาศ (400 – 600 กรัมต่อตารางเซนติเมตร) ที่ระดับน้ำทะเลการเปลี่ยนลูกบอลที่ชำรุด (Replacement of a Defective Ball) ถ้าลูกบอลแตกหรือชำรุดในระหว่างการแข่งขันจะดำเนินการดังนี้1. การแข่งขันต้องหยุดลง2. เริ่มเล่นใหม่โดยการปล่อยลูกบอล (Dropped Ball) ณ ที่ลูกบอลตก (ชำรุด)ถ้าลูกบอลเกิดแตกหรือชำรุดในขณะบอลอยู่นอกการเล่น ให้เริ่มเล่นใหม่โดยการเตะเริ่มเล่นการเล่นลูกจากประตู การเตะจากมุม การเตะโทษ ณ จุดโทษ หรือการเตะเข้าเล่นการเริ่มเล่นให้เป็นไปตามกฎกติกาในขณะการแข่งขัน การเปลี่ยนลูกบอลจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน

ข้อตกลง (Decisions)1. ในการแข่งขันระหว่างชาติไม่อนุญาตให้ใช้ลูกบอลที่ทำด้วยสักหลาด2. การทดสอบลูกบอลเมื่อปล่อยจากความสูง 2 เมตร โดยวัดจากการกระดอนครั้งแรก ต้องกระดอนจากพื้นไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร และไม่สูงกว่า 65 เซนติเมตร3. ในการแข่งขัน ลูกบอลที่ใช้ต้องแสดงให้เห็นถึงความต้องการทางเทคนิคอย่างน้อยที่สุด ตามที่ระบุไว้ในกติกาข้อที่ 2 เท่านั้นจึงจะอนุญาตให้ใช้ได้4. ในการแข่งขันของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ และการแข่งขันภายในความรับผิดชอบของสหพันธ์ฟุตบอล ต้องมีสัญลักษณ์ 3 อย่าง ดังนี้4.1 ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA APPROVED)4.2 ได้รับการตรวจสอบจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA INSPECTED)4.3 ลูกบอลมาตรฐานใช้แข่งขันระหว่างชาติ (INTERNATIONAL MATCHBALL STANDARDS)สัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ที่ลูกบอลคือ สัญลักษณ์ที่ระบุว่าลูกบอลดังกล่าวได้รับการทดสอบอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับการแข่งขันของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ และการแข่งขันภายในความรับผิดชอบดูแลของสหพันธ์ต่างๆ ลูกบอลที่ใช้ต้องแสดงถึงความต้องการทางเทคนิคอย่างน้อยที่สุดตามที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 2 เท่านั้นที่อนุญาตให้ใช้ได้ การยอมรับลูกบอลที่ใช้ดังกล่าวข้างต้น จะอยู่ภายใต้เงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งที่แสดงให้เห็นบนลูกบอลว่าเป็นไปตามความต้องการทางเทคนิค ดังกล่าว สมาคมฟุตบอลแห่งชาติสามารถออกกฎบังคับให้ใช้ลูกบอลที่มีสัญลักษณ์อย่างใด อย่างหนึ่งจากเงื่อนไข 3 ประการ สำหรับการแข่งขันภายในประเทศหรือในการแข่งขันอื่นๆทุกรายการ ลูกบอลจะต้องเป็นไปตามกติกาข้อ 2 ในกรณีที่สมาคมฟุตบอลแห่งชาติ บังคับใช้ลูกบอลที่มีสัญลักษณ์ที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ(FIFA APPROVED) และได้รับการตรวจสอบจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA INSPECTED) แต่สมาคมฟุตบอลแห่งชาติสามารถอนุญาตให้ใช้ลูกบอลมาตรฐานแข่งขันระหว่างชาติ(INTERNATIONAL MATCHBALL STANDARDS) ก็ได้ในการแข่งขันของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ และในรายการแข่งขันที่อยู่ภายในการดูแลของสมาพันธ์และสมาคมฟุตบอลแห่งชาติไม่อนุญาตให้ทำการโฆษณาสินค้าบนลูกบอล ยกเว้นสัญลักษณ์ของการแข่งขัน และผู้จัดตั้งการแข่งขัน หรือสัญลักษณ์ทางการค้าที่ได้รับอนุญาตจากกฎเกณฑ์ของการแข่งขัน และอาจจะจำกัดขนาดและจำนวนของเครื่องหมายเหล่านั้น

กติกาข้อ3 จำนวนผู้เล่น (THE NUMBER OF PLAYERS)ผู้เล่น (Players)ในการแข่งขันจะมีผู้เล่นสองทีม แต่ละทีมต้องมีผู้เล่นในสนามไม่เกิน 5 คน และต้องมีผู้เล่นคนหนึ่งเป็นผู้รักษาประตูขั้นตอนการเปลี่ยนตัว (Substitution Procedure)1. การเปลี่ยนตัวจะเปลี่ยนเมื่อใดก็ได้ในขณะแข่งขันภายใต้ระเบียบของการแข่งขันอย่างเป็นทางการที่สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติสมาพันธ์ฟุตบอล หรือสมาคมฟุตบอลแห่งชาติกำหนดไว้2. อนุญาตให้มีผู้เล่นสำรองไม่เกิน 7 คน3. การเปลี่ยนตัวผู้เล่นในระหว่างการแข่งขันไม่จำกัดจำนวนสามารถเปลี่ยนตัวได้ตลอดเวลา ผู้เล่นที่ถูกเปลี่ยนออกสามารถเปลี่ยนกลับเข้าไปเล่นได้อีก โดยการเปลี่ยนตัวกับผู้เล่นที่เล่นในสนาม4. การเปลี่ยนตัวออกและเข้าสามารถทำได้ตลอดเวลาในขณะลูกบอลอยู่ในการเล่น หรือลูกบอลอยู่นอกการเล่น แต่ต้องกระทำตามเงื่อนไข4.1 ผู้เล่นที่ออกจากสนามต้องออกในเขตเปลี่ยนตัวของตนเองเท่านั้น4.2 ผู้เล่นที่เปลี่ยนตัวจะต้องเปลี่ยนตัวในเขตของตนเอง แต่ต้องให้ผู้เล่นในสนามที่ถูกเปลี่ยนตัวออกได้ผ่านเส้นข้างออกจากสนามโดยสมบูรณ์ก่อน4.3 การเปลี่ยนตัวอยู่ในอำนาจและดุลพินิจของผู้ตัดสินเท่านั้น ว่าจะให้เข้าเล่นได้หรือไม่4.4 การเปลี่ยนตัวจะถือว่าสมบูรณ์เมื่อผู้ที่เปลี่ยนตัวได้เข้าสนามและถือว่าเป็นผู้เล่นทันที ส่วนผู้ที่เปลี่ยนตัวออกจะถือว่าเป็นผู้เล่นสำรองผู้รักษาประตูสามารถเปลี่ยนตำแหน่งกับผู้เล่นคนอื่นได้

การกระทำผิดและการลงโทษ (Infringements/Sanction) ถ้าในขณะเปลี่ยนตัว ผู้เล่นสำรองได้เข้าไปในสนามก่อนที่ผู้เล่นในสนามจะออกนอกสนามโดยสมบูรณ์1. หยุดการเล่น2. ผู้เล่นที่จะออกต้องให้ออกจากสนาม3. ผู้เล่นสำรองที่เข้ามาต้องถูกคาดโทษด้วยใบเหลือง4. การเริ่มเล่นใหม่ ให้ฝ่ายตรงข้ามเตะโทษโดยอ้อม ณ จุดที่ลูกบอลอยู่ในการเล่นได้หยุดลง อย่างไรก็ตาม ถ้าลูกบอลอยู่ในเขตโทษ การเตะโทษโดยอ้อมจะกระทำจากเส้นเขตโทษที่จุดใกล้ตำแหน่งของลูกบอลมากที่สุด ในขณะที่การเล่นได้หยุดลงถ้าในระหว่างการเปลี่ยนตัว ผู้เล่นสำรองที่เปลี่ยนออกได้เปลี่ยนตัวออกนอกเขตเปลี่ยนตัว1. หยุดการเล่น2. ผู้เล่นที่กระทำผิดต้องถูกคาดโทษด้วยใบเหลือง3. การเริ่มเล่นใหม่ ให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อม ณ จุดที่ลูกบอลอยู่ในการเล่นได้หยุดลง อย่างไรก็ตาม ถ้าลูกบอลอยู่ในเขตโทษ การเตะโทษโดยอ้อมจะกระทำจากเส้นเขตโทษที่จุดใกล้ตำแหน่งของลูกบอลมากที่สุด ในขณะที่การเล่นได้หยุดลงข้อตกลง (Decisions)1. การเริ่มเล่นแต่ละทีมต้องมีผู้เล่น 5 คน2. ถ้าในกรณีผู้เล่นทีมหนึ่งถูกไล่ออกจากการแข่งขัน และเหลือผู้เล่นน้อยกว่า 3 คน(รวมผู้รักษาประตู)การแข่งขันต้องถูกยกเลิก

กติกาข้อ4 อุปกรณ์ของผู้เล่น (THE PLAYER’S EQUIPMENT)ความปลอดภัย (Safety) ผู้เล่นต้องไม่ใช้อุปกรณ์หรือสวมใส่สิ่งใดที่เป็นอันตรายต่อตนเอง และผู้เล่นอื่น รวมถึงเครื่องประดับต่างๆทุกชนิดอุปกรณ์เบื้องต้น (Basic Equipment) ข้อบังคับเบื้องต้นเกี่ยวกับอุปกรณ์ของผู้เล่น ประกอบด้วย1. เสื้อยืดหรือเสื้อเชิ้ต2. กางเกงขาสั้น (ถ้าสวมกางเกงปรับอุณหภูมิ สีของกางเกงนั้นจะต้องเป็นสีเดียวกันกับสีหลักของกางเกง3. ถุงเท้ายาว4. สนับแข้ง5. รองเท้า รองเท้าที่อนุญาตให้ใช้ได้ ต้องเป็นรองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าแบบหนังนิ่ม หรือรองเท้าออกกำลังกายที่พื้นรองเท้าทำด้วยยาง หรือวัสดุที่คล้ายคลึงกัน การสวมรองเท้าเป็นข้อบังคับในการแข่งขันเสื้อยืดหรือเสื้อเชิ้ต (Jersey of Shirt)1. หมายเลข 1 – 15 จะอยู่ด้านหลังของเสื้อ2. สีของหมายเลขจะเห็นชัดเจนและแตกต่างจากสีเสื้อสำหรับการแข่งขันระหว่างชาติ จะหมายเลขขนาดเล็กอยู่ด้านหน้าเสื้อด้วยสนับแข้ง (Shinguards)1. ต้องอยู่ภายถุงเท้ายาวทั้งสองข้าง2. ทำจากวัสดุที่เหมาะสม (ยาง พลาสติก โพลียูรีเทน หรือ วัสดุที่คล้ายคลึงกัน)3. ต้องเหมาะสมในการป้องกันผู้รักษาประตู (Goalkeepers)1. อนุญาตให้ผู้รักษาประตูสวมใส่กางเกงขายาวได้2. ผู้รักษาประตูแต่ละทีมต้องสวมชุดให้มีสีแตกต่างจากผู้เล่นคนอื่น และผู้ตัดสินถ้าผู้เล่นเปลี่ยนตัวเป็นผู้รักษาประตู ผู้เล่นที่เป็นผู้รักษาประตูต้องสวมเสื้อผู้รักษาประตูที่มีหมายเลขด้านหลังของตนเองอนุญาต

การกระทำผิด การลงโทษ (Infringements/Sanctions)สำหรับการกระทำผิดใดๆของกติกานี้ ผู้เล่นที่กระทำผิด ผู้ตัดสินจะให้ผู้เล่นออกจากสนามแข่งขันเพื่อแก้ไขอุปกรณ์ที่ขาดหายไป ผู้เล่นจะกลับเข้ามาเล่นได้อีกเมื่อลูกบอลอยู่นอกการเล่น และต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบ เพื่อตรวจสอบว่าอุปกรณ์ของผู้เล่นนั้นแก้ไขถูกต้อง

กติกาข้อ5 ผู้ตัดสิน (THE RFEREE)อำนาจหน้าที่ของผู้ตัดสิน (The Authority of the Referee) การแข่งขันแต่ละครั้งจะถูกควบคุมโดยผู้ตัดสิน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้มีอำนาจและปฏิบัติหน้าที่ตามที่กติกาแข่งขันกำหนดไว้นับตั้งแต่ได้ก้าวเข้าสู่สถานที่ตั้งของสนามแข่งขัน และจะสิ้นสุดเมื่อได้ออกจากสนามที่ตั้งนั้นไปอำนาจและหน้าที่ (Powers and duties) ผู้ตัดสินต้อง1. ปฏิบัติตามกติกาการแข่งขัน2. อนุญาตให้การเล่นดำเนินต่อไปเมื่อทีมที่ถูกกระทำผิดจะเกิดการได้เปรียบจากการให้ประโยชน์ (Advantage) ถ้าการคาดคะเนในการได้เปรียบนั้นไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ในขณะนั้น ก็จะลงโทษตามความผิดที่เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกนั้นได้3. ทำการบันทีกรายงานการแข่งขัน ซึ่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมระเบียบวินัยทุกอย่างที่กระทำกับผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ทีมและเหตุการณ์อื่นๆ ทุกกรณีที่เกิดขึ้นก่อนการแข่งขัน ระหว่างการแข่งขัน หรือภายหลังการแข่งขัน4. ทำหน้าที่เป็นผู้รักษาเวลาในกรณีที่ไม่มีผู้รักษาเวลา5. หยุดการเล่น หยุดการเล่นชั่วคราว หรือยุติการแข่งขันในกรณีที่มีการกระทำผิดกติกาการแข่งขัน หรือเมื่อเห็นว่ามีเหตุจำเป็นต่างๆ เช่น การรบกวนการแข่งขันจากภายนอกสนาม6. สามารถคาดโทษ และให้ออก ถ้าผู้เล่นกระทำผิด7. แน่ใจว่าไม่มีบุคคลอื่นที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปในสนามการแข่งขัน8. หยุดการเล่นเมื่อเห็นว่าผู้เล่นได้รับบาดเจ็บอย่างร้ายเเรง (Seriously Injured)และเคลื่อนย้ายผู้เล่นออกจากสนามแข่งขัน9. อนุญาตให้การเล่นดำเนินต่อไปจนกว่าลูกบอลจะอยู่นอกการเล่น ถ้าเห็นว่าผู้เล่นบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย10. พิจารณาลูกบอลที่ใช้ในการแข่งขันให้เป็นไปตามกติกาข้อ 2

การพิจารณาตัดสินใจของผู้ตัดสิน (Decisions the Referee) การพิจารณาตัดสินใจของผู้ตัดสนที่เกี่ยวข้องกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในการแข่งขันถือเป็นข้อยุติข้อตกลง (Decisions)1. ถ้าผู้ตัดสินและผู้ตัดสินที่2 แสดงสัญญาณการกระทำผิดพร้อมกันและเป็นการขัดแย้งกัน ซึ่งทำให้ฝ่ายหนึ่งได้เปรียบจะต้องทำตามการตัดสินใจของผู้ตัดสิน2. ผู้ตัดสินและผู้ตัดสินที่2 สามารถคาดโทษและให้อกแต่ในกรณีที่เขาเกิดความขัดแย้งจะต้องทำตามการตัดสินใจของผู้ตัดสิน

กติกาข้อ6 ผู้ตัดสินที่2 (THE SECOND REFEREE)หน้าที่ (Duties) ผู้ตัดสินที่2 ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ด้านตรงข้ามของสนามแข่งขันกับผู้ตัดสิน เขาได้รับอนุญาตให้ใช้นกหวีดได้ ผู้ตัดสินที่2 จะช่วยเหลือผู้ตัดสินในการควบคุมการแข่งขันให้เป็นไปตามกติกาการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่2 1. มีอำนาจในการสั่งหยุดการเล่นเมื่อมีการกระทำผิดกติกาการแข่งขัน2. จะต้องแน่ใจว่าการเปลี่ยนตัวผู้เล่นปฏิบัติอย่างถูกต้องในกรณีที่ผู้ตัดสินที่2 ปฏิบัติตนหรือประพฤติตนไม่เหมาะสม ผู้ตัดสินสามารถเปลี่ยนผู้ตัดสิน ที่2 ออกจากการปฏิบัติหน้าที่และให้ผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน และเขียนรายงานเสนอต่อผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบและพิจารณาต่อไปข้อตกลง (Decisions) ในการแข่งขันระหว่างชาติ ต้องมีผู้ตัดสินที่2

กติกาข้อที่7 ผู้รักษาเวลาและผู้ตัดสินที่3 (THE TIMEKEEPER AND THE THIRD REFEREE)หน้าที่ (Duties) ผู้รักษาเวลาและผู้ตัดสินที่3 ต้องได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่นั่งอยู่ด้านนอกสนามที่เส้นแบ่งแดนด้านเดียวกับเขตเปลี่ยนตัว ผู้รักษาเวลาและผู้ตัดสินที่3 จะใช้นาฬิกาจับเวลาที่เหมาะสม และจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่แสดงให้เห็นการกระทำผิดกติการวม ซึ่งทางสมาคมและสโมสรที่เป็นเจ้าของสนามจัดเตรียมไว้ให้ก่อนเริ่มการแข่งขัน

ผู้รักษาเวลา (The Timekeeper)1. ต้องแน่ใจว่าเวลาของการแข่งขันเป็นไปตามข้อกำหนดของกติกาข้อ8 โดยปฏิบัติดังนี้1.1 เริ่มจับเวลาของตนเองหลังจากการเตะเริ่มเล่น1.2 หยุดเวลาเมื่อลูกบอลอยู่นอกการเล่น1.3 เริ่มจับเวลาภายหลังการเตะเข้าเล่น การเล่นลูกจากประตู การเตะจากมุม การเตะโทษ ณ จุดโทษ หรือการเตะโทษจุดโทษที่2 การขอเวลานอก หรือการปล่อยลูกบอล2. ควบคุมการขอเวลานอก 1 นาที3. ควบคุมระยะเวลาของการลงโทษ 2 นาที เมื่อผู้เล่นถูกไล่ออก4. เป็นผู้แจ้งเมื่อหมดเวลาการแข่งขันในครึ่งเวลาแรกครึ่งเวลาหลัง เมื่อหมดเวลาในช่วงการต่อเวลาพิเศษ และหมดเวลาการขอเวลานอกโดยการใช้สัญญาณนกหวีดหรือเสียงสัญญาณอื่นๆ ที่ชัดเจนและแตกต่างจากเสียงสัญญาณของผู้ตัดสิน 5. เป็นผู้บันทึกการขอเวลานอก และการรักษาเวลานอกของแต่ละทีม ต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินและทีมที่เข้าแข่งขันทราบข้อเท็จจริง การอนุญาตการขดเวลานอกเมื่อผู้ฝึกสอนทีมใดทีมหนึ่งต้องการร้องขอ (ตามกติกาข้อ 8)6. เป็นผู้บันทึกการกระทำผิดกติการวม 5 ครั้งแรกของแต่ละทีมในแต่ละครึ่งเวลา ซึ่งมีการจดบันทึกโดยแจ้งสัญญาณเมื่อมีการกระทำผิดครั้งที่5 ให้ผู้ตัดสินและแต่ละทีมทราบผู้ตัดสินที่3 (The Third Referee) ผู้ตัดสินที่3 จะเป็นผู้ช่วยในการรักษาเวลา1. เป็นผู้บันทึกการกระทำผิดกติการวม 5 ครั้งแรกของแต่ละทีมในแต่ละครึ่งเวลาของการแข่งขัน ซึ่งมีการจดบันทึกโดยผู้ตัดสิน และให้สัญญาณเมื่อมีการกระทำผิดครั้งที่5 ให้แต่ละทีมทราบ2. เป็นผู้บันทึกเกี่ยวกับการหยุดการแข่งขัน และเหตุผลของการหยุดการแข่งขัน3. เป็นผู้บันทึกหมายเลขผู้เล่นที่ทำประตูได้4. เป็นผู้บันทึกหมายเลขผู้เล่นที่ถูกคาดโทษ หรือไล่ออก5. เป็นผู้บันทึกข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันในกรณีที่มีผู้รักษาเวลาและผู้ตัดสินที่3 ปฏิบัติตนหรือประพฤติตนไม่เหมาะสม ผู้ตัดสินสามารถเปลี่ยนออกจากการปฏิบัติหน้าที่และให้ผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน และเขียนรายงานเสนอต่อผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบพิจารณาต่อไปในกรณีที่ผู้ตัดสินมีการบาดเจ็บ ผู้ตัดสินที่3 อาจเข้าไปปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ตัดสินหรือผู้ตัดสิน ที่2ได้ข้อตกลง (Decisions)1. ในการแข่งขันระหว่างชาติ ต้องมีผู้รักษาเวลาและผู้ตัดสินที่32. ในการแข่งขันระหว่างชาติ นาฬิกาจับเวลาจะต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่นๆ (จับเวลาได้เที่ยงตรงมีกลไกการจับเวลา 2 นาทีของการกระทำผิดสำหรับผู้เล่น 4 คนในเวลาเดียวกันได้และมีเครื่องสัญญาณแสดงการกระทำผิดรวมของแต่ละทีมในแต่ละครึ่งเวลา

กติกาข้อ8 ระยะเวลาของการแข่งขัน (THE DURATIONOF THE MATCH)ช่วงเวลาของการเล่น (Periods of Play) การแข่งขันแบ่งระยะเวลาออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 20 นาทีเท่ากัน การรักษาเวลาเป็นหน้าที่ของผู้รักษาเวลา ซึ่งมีหน้าที่ตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ7 ระยะเวลาของการแข่งขันแต่ละครึ่งอาจมีการเพิ่มเวลาเพื่อการเตะโทษ ณ จุดโทษเวลานอก (Time-Out) ทั้งสองทีมมีสิทธิ์ขอเวลานอก เป็นระยะเวลา 1นาที ได้ในแต่ละครึ่งเวลา ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้1. ผู้ฝึกสอนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ในการขอเวลานอก 1นาทีจากผู้รักษาเวลา2. การขอเวลานอกสามารถกระทำได้ตลอดเวลา แต่จะให้เวลานอกเมื่อทีมได้ครอบครองบอล(ส่งบอลเข้าเล่น)3. ผู้รักษาเวลาต้องแสดงการอนุญาตสำหรับการขอเวลานอกของทีมเมื่อลูกบอลอยู่นอกการเล่น โดยการใช้สัญญาณนกหวีดหรือเสียงสัญญาณอื่นๆที่แตกต่างจากผู้ตัดสินใช้อยู่4. เมื่ออนุญาตให้เป็นเวลานอก ผู้เล่นทุกคนต้องรวมกันอยู่ในสนามแข่ง ถ้าต้องการได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ทีม จะกระทำได้เฉพาะที่เส้นข้างบริเวณหน้าที่นั่งสำรองของตนเอง ผู้เล่นทุกคนต้องไม่ออกนอกสนามแข่งขัน เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ที่ให้คำแนะนำ จะต้องไม่เข้าไปในสนามแข่งขัน5. ถ้าทีมไม่ใช่สิทธิ์การขอเวลานอกในครึ่งเวลาแรก จะไม่สามารถนำไปทดแทนกันได้ในครึ่งเวลาหลังการพักครึ่งเวลา (Half-time Interval) ต้องไม่เกิน 15 นาทีข้อตกลง (Decisions)1. ถ้าไม่มีผู้รักษาเวลา ผู้ฝึกสอนต้องขอเวลานอกกับผู้ตัดสิน2. ถ้าระเบียบการแข่งขันระบุให้มีการต่อเวลาพิเศษในกรณีที่การแข่งขันในเวลาปกติ ถ้าผลการแข่งขันจบลงด้วยการเสมอกัน การแข่งขันในระหว่างการต่อเวลาพิเศษของการแข่งขันจะไม่มีการขอเวลานอก

กติกาข้อ9การเริ่มเล่นและการเริ่มเล่นใหม่ (THE START AND RESTART OF PLAY)การเตรียมการเบื้องต้น (Preliminaries) การเลือกแดนกระทำโดยการเสี่ยงด้วยเหรียญ ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะเป็นผู้เลือกประตูในการรุกในครึ่งเวลาแรกของการแข่งขันอีกทีมจะเป็นฝ่ายเตะเริ่มเล่น เพื่อเริ่มต้นการแข่งขัน ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะทำการเตะเริ่มเล่นในครึ่งเวลาหลังของกาแข่งขัน ทั้งสองจะเปลี่ยนแดนกันในครึ่งเวลาหลังชองกางแข่งขันและทำการรุกประตูฝ่ายตรงข้ามการเตะเริ่มเล่น (Kick Off) การเตะเริ่มเล่น เป็นการเริ่มเล่นหรือเป็นการเริ่มเล่นใหม่1. เมื่อเริ่มต้นการเเข่งขัน2. หลังจากทำประตูได้3. เมื่อเริ่มต้นการเเข่งขันครึ่งเวลาหลัง4. เมื่อเริ่มต้นการเเข่งขันแต่ละครึ่งของการต่อเวลาพิเศษโดยไม่มีการพัก สามารถทำประตูได้โดยตรงจากการเตะเริ่มเล่นขั้นตอนในการดำเนินการ (Procedure)1. ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่ในแดนของตนเอง2. ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามกับทีมที่กำลังเตะเริ่มเล่นต้องอยู่ห่างจากลูกบอลไม่น้อยกว่า 3 เมตร จนกระทั่งลูกบอลอยู่ในการเล่น3. ลูกบอลต้องวางนิ่งอยู่บนจุดกึ่งกลางสนาม4. ผู้ตัดสินให้สัญญาณ5. ลูกบอลอยู่ในการเล่นเมื่อถูกเตะและเคลื่อนที่ไปข้างหน้า6. ผู้เตะไม่สามารถเล่นลูกบอลเป็นครั้งที่สองจนกว่าลูกบอลจะถูกสัมผัสโดยผู้เล่นคนอื่นก่อน ภายหลังที่ทีมหนึ่งทำประตูได้อีกทีมหนึ่งจะเป็นฝ่ายได้เตะเริ่มเล่น

การกระทำผิดและการลงโทษ ( Infringements / Sanction ) ถ้าผู้เตะได้สัมผัสลูกบอลเป็นครั้งที่สองก่อนที่ลูกจะถูกสัมผัสโดยผู้เล่นคนอื่น การเตะโทษโดยอ้อม จะให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อม ณ จุดที่การกระทำผิดกติกาเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ถ้าการกระทำผิดกติกาเกิดขึ้นภายในบริเวณเขตโทษของผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม การเตะโทษโดยอ้อมจะกระทำจากเส้นเขตโทษ ณ จุดที่ใกล้ที่สุดกับที่การกระทำผิดกติกาเกิดขึ้นมากที่สุด การกระทำผิดอื่นๆของการเตะเริ่มเล่น ให้ทำการเตะเริ่มเล่นใหม่

การปล่อยลูกบอล ( Dropped Ball ) การปล่อยลูกบอลเป็นวิธีการหนึ่งของการเริ่มเล่นใหม่ หลังจากการเล่นได้หยุดลงชั่วคราวขณะที่ลูกบอลอยู่ในการเล่น และขณะที่หยุดเล่นในเวลานั้น หรือด้วยเหตุผลอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ในกติกาการแข่งขัน ลูกบอลยังไม่ได้ผ่านออกเส้นข้างหรือเส้นประตู

ขั้นตอนในการดำเนินการ ( Procedure ) ผู้ตัดสินเป็นผู้ปล่อยลูกบอล ณ จุดที่ซึ่งลูกบอลอยู่ในขณะที่การเล่นได้หยุดลง ยกเว้นเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นบริเวณเขตโทษ ในกรณีนี้ผู้ตัดสินจะปล่อยลูกบอลจากเขตโทษ ณ จุดใกล้กันกับลูกบอลมากที่สุดในขณะที่การเล่นได้หยุดลง การเริ่มเล่นใหม่จะสมบูรณ์เมื่อลูกบอลได้สัมผัสพื้นสนาม

การกระทำผิดและการลงโทษ ( Infringements / Sanctions ) การปล่อยลูกบอลอีกครั้งหนึ่ง1. ถ้าลูกบอลถูกสัมผัสโดยผู้เล่นคนหนึ่งคนใดก่อนที่ลูกบอลจะสัมผัสสนาม2. ถ้าลูกบอลออกจากสนามการแข่งขันไปหลังจากสัมผัสพื้นสนามแล้ว แต่ไม่ถูกสัมผัสโดยผู้เล่นคนใดคนหนึ่งก่อน

กติกาข้อ 10ลูกบอลอยู่ในและนอกการเล่น( THE BALL IN AND OUT OF PLAY )ลูกบอลอยู่ในการเล่น ( Ball in Play ) ลูกบอลอยู่ในการเล่นอยู่ตลอดเวลา นับจากการเล่นจนกระทั่งการแข่งขันสิ้นสุดลง รวมทั้งเมื่อ1. ลูกบอลกระดอนจากเสาหรือคานประตูเข้ามาในสนามแข่งขัน2. การเตะเข้าเล่นจะนำลูกบอลมาวาง ณ จุดที่ใกล้เส้นข้างและเส้นสมมติที่ขนานกับเส้นประตู ภายใต้ตำแหน่งเมื่อลูกบอลกระทบเพดาน

ลูกบอลอยู่นอกการเล่น ( Ball out of Play ) ลูกบอลอยู่นอกการเล่นเมื่อ1. ลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านเส้นประตูหรือเส้นข้างไม่ว่าบนพื้นหรือในอากาศ2. ผู้ตัดสินสั่งหยุดการเล่น 3. ลูกบอลกระทบหลังคา

ข้อตกลง ( Decision )1. การแข่งขันที่เล่นภายในสนามในร่ม และลูกบอลได้กระทบเพดานหลังคา การเล่นจะเริ่มเล่นใหม่ โดยผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามกับผู้เล่นที่สัมผัสลูกบอลเป็นครั้งสุดท้ายจะได้เตะเข้าเล่น ( Kick in ) หรือเล่นลูกจากประตู ( Goal Clearance )2. การเตะเข้าเล่น จะนำลูกบอลมาวาง ณ จุดที่ใกล้เส้นข้างและเส้นสมมติที่ขนานกับเส้นประตูภายใต้ตำแหน่งที่ลูกบอลกระทบเพดานหลังคา

กติกาข้อ 11การนับประตู( THE METHOD OF SCORING )การทำประตู ( Goal Scored ) จะถือว่าได้ประตู เมื่อลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านเส้นประตูระหว่างเสาประตูภายใต้คานประตู ภายใต้เงื่อนไขว่า ต้องไม่มีการทำผิดกติกาการแข่งขันเกิดขึ้นโดยทีมที่ทำประตู ข้อยกเว้น ผู้รักษาประตูและผู้เล่นฝ่ายลุกไม่สามารถทำประตูได้โดยตรงจากการใช้มือและแขน

ทีมชนะ ( Winning Team ) ทีมที่ทำประตูได้มากกว่าในการแข่งขันจะเป็นฝ่ายชนะ ( Winner ) ถ้าทั้งสองทีมทำประตูได้เท่ากันหรือทำประตูกันไม่ได้ การแข่งขันครั้งนี้จะถือว่า เสมอกัน ( Draw)

ระเบียบการแข่งขัน ( Competition Rules )สำหรับการแข่งขันที่จบลงโดยผลเสมอกัน ระเบียบการแข่งขันอาจจะกำหนดราบละเอียดซึ่งเกี่ยวข้องกับการต่อเวลาพิเศษหรือการดำเนินการอื่นๆเพื่อหาทีมที่ชนะในการแข่งขันครั้งนั้น

กติกาข้อ 12การเล่นที่ผิดกติกาและประพฤติผิด( FOULS AND MISCONDUCT )การกระทำที่ผิดกติกาและเสียมารบาทจะถูกลงโทษดังนี้

โทษโดยตรง ( Direct Free Kick ) ถ้าผู้เล่นกระทำผิดตามความผิดข้อหนึ่งข้อใดใน 6 ข้อต่อไปนี้ โดยผู้ตัดสินพิจารณาเห็นว่าขาดความระมัดระวัง ไม่ไตร่ตรองยั้งคิดหรือใช้กำลังแรงเกินกว่าเหตุ จะให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยตรง ได้แก่1. เตะ ( Kick ) หรือพยายามเตะคู่ต่อสู้2. ขัดขา ( Trips ) หรือพยายามขัดขาคู่ต่อสู้3. กระโดด ( Jump ) เข้าใส่คู่ต่อสู้4. ชน ( charges ) คู่ต่อสู้ รวมถึงการชนด้วยไหล่5. ทำร้าย ( Strikes ) หรือพยายามทำร้ายคู่ต่อสู้6. ผลัก ( Pushes ) คู่ต่อสู้ถ้าผู้เล่นกระทำผิดตามความผิดข้อหนึ่งข้อใดใน 4 ข้อต่อไปนี้ จะให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยตรงเช่นกัน ได้แก่1. ดึง ( Holds ) คู่ต่อสู้2. ถ่มน้ำลาย ( Spits ) ใส่คู่ต่อสู้3. การพุ่งตัว ( Slides ) ในสภาวะที่พยายามจะเล่นลูกบอล ในขณะผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามกำลังเล่นลูกบอลหรือพยายามเล่นลูกบอลโดยคู่ต่อสู้ ( Sliding Tackle )ยกเว้น ผู้รักษาประตูสามารถสไลด์ในเขตโทษของตนเองเพื่อป้องกันประตูได้4. เล่นลูกด้วยมือโดยเจตนายกเว้น ผู้รักษาประตูที่อยู่ในเขตโทษของตนเอง การเตะโทษโดยตรงจะทำการเตะที่ซึ่งการกระทำผิดกติกาเกิดขึ้น การกระทำผิดกติกาดังกล่าวข้างต้นให้นับเป็นการทำผิดกติการวม

การเตะโทษ ณ จุดโทษ ( Penalty Kick ) การเตะโทษ ณ จุดโทษ ถ้าผู้เล่นกระทำความผิดดังกล่าวข้างต้นภายในเขตโทษของตนเองโดยไม่ต้องคำนึงถึงตำแหน่งของลูกบอล และมีเงื่อนไขว่าลูกบอลต้องอยู่ในการเล่น

โทษโดยอ้อม ( Indirect Free Kick ) ให้ฝ่ายตรงข้ามเตะโทษโดยอ้อม ถ้าผู้รักษาประตูกระทำผิดตามความผิดข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้1. ภายหลังจากปล่อยลูกบอลจากการครอบครอง เขาได้รับลูกบอลคืนจากผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน ก่อนที่ลูกบอลจะถูกส่งผ่านเส้นแบ่งแดน หรือได้ถูกเล่นหรือสัมผัสโดยผู้เล่นหรือสัมผัสโดยผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม2. สัมผัสหรือครองครองลูกบอลด้วยมือ ภายหลังจากผู้เล่นฝ่ายเดียวกันเจตนาเตะส่งมาให้3. สัมผัสหรือครองครองลูกบอลด้วยมือภายหลังจากผู้เล่นฝ่ายเดียวกันส่งมาให้โดยตรงจากการเตะเข้าเล่น4. สัมผัสหรือครอบครองลูกบอลด้วยมือหรือเท้าเกินกว่า 4 วินาที ยกเว้นลูกบอลอยู่ในฝ่ายแดนฝั่งตรงข้ามในสนามแข่งขันจะให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อม ที่ซึ่งมีการกระทำผิดกตอกาเกิดขึ้น ถ้าผู้ตัดสินพิจารณาว่าผู้เล่น1. เล่นในลักษณะที่เป็นอันตราย 2. เจตนากีดขวางการเล่นของฝ่ายตรงข้าม เมื่อตนเองไม่ได้อยู่ในระยะที่เล่นลูกบอล3. ป้องกันผู้รักษาประตูไม่ให้ปล่อยลูกบอลจากมือ